ความคุ้มค่าในการปลูกเมล่อนเมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ

Last updated: 7 เม.ย 2563  |  5210 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความคุ้มค่าในการปลูกเมล่อนเมื่อเทียบกับพืชอื่นๆ

  • เมล่อนเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ในช่วงหน้าแล้ง
  • ระยะเวลาในการปลูกเมล่อนนั่น ใช้เวลาเพียง 3 เดือน
  • ผลตอบแทนของผลเมล่อนนั่นสูงเมื่อเทียบกับพืชอายุสั้นอื่นๆ



ประเทศไทย เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน ทำให้ในหลายๆพื้นที่เกิดปัญหาภัยแล้ง หรือสภาวะแห้งแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝนอย่างผิดปกติ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ส่งผลต่อการการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญและมีการทำอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เกษตรกรจึงนิยมปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยในช่วงที่เกิดปัญหาภัยแล้งนี้แทน

ในปัจจุบันนั่นมีการปลูกพืช ที่เรียกว่า “พืชอายุสั้น” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการปลูกที่ไม่นาน ปลูกง่าย โตเร็ว และราคาดี ซึ่งคำว่าพืชอายุสั้น โดยนิยามทั่วไปหมายถึง ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพรและเครื่องเทศที่มีอายุสั้น ซึ่งเมล่อนญี่ปุ่นที่ได้มีการปรับปรุงพันธุกรรมให้เหมาะกับการปลูกในประเทศไทยนี้ไม่ว่าจะเป็น คิโมจิ คูนามิ โมมิจิ ก็ถือว่าเป็นพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย เนื่องจากใช้ระเวลาในการปลูกเพียง 3 เดือน ใช้น้ำน้อย และให้ผลตอบแทนสูงทำให้เหมาะเป็นอย่างมาก ซึ่งเราได้ทำตารางการเปรียบเทียบ พร้อมทั้งยกตัวอย่างพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย ดังนี้



ตารางการเปรียบเทียบการใช้ปริมาณน้ำที่ต้นพืชต้องการ ระยะเวลการปลูก และราคากลางในตลาด


พืชปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ต้องการ (ลิตร/ผลผลิต 1 กิโลกรัม)ระยะเวลาการปลูกราคากลาง (ต่อกิโลกรัม)
เมล่อนญี่ปุ่น125 ลิตร  3 เดือน  150-200 บาท  
ข้าว2,667 ลิตร4 เดือน31.1-31.2 บาท
ข้าวโพด490 ลิตร3-4 เดือน10 บาท
มันสำปะหลัง355 ลิตร 10-12 เดือน12.7 บาท
สับปะรด160 ลิตร 3 เดือน5.29 บาท
ถั่วเขียว3,947 ลิตร 3 เดือน45 บาท
งา5,610 ลิตร 3-4 เดือน82-120 บาท
ฝ้าย4,406 ลิตร 4 เดือน19.59 บาท


 

ตัวอย่างพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย ได้แก่

1. เมล่อน : เป็นพืชที่เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีราคาต่อผลสูง มีรสชาติหอมหวาน และอุดมไปด้วยวิตามิน ระยะการปลูกสั้น สามารถปลูกได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สั่งซื้อเมล็ดคิโมจิ

สั่งซื้อเมล็ดคูนามิ

สั่งซื้อเมล็ดโมมิจิ

      

 

แนวทางการปลูกเมล่อนญี่ปุ่นเบื้องต้น คลิ๊ก

 

2. ข้าวนาปรัง : เป็นข้าวที่เพาะปลูกในฤดูแล้ง หรือนอกฤดูฝน โดยไม่คำนึงถึงช่วงเก็บเกี่ยว




รูปที่1 : ข้าว

(ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, 2562)

 



3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ข้าวโพดที่เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อเอาเมล็ดมาใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์


 
 

รูปที่2 : ข้าวโพด

(ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ, 2561)

 



4. มันสำปะหลังโรงงาน : มันสำปะหลังที่เกษตรกรปลูกเพื่อขายผลผลิตให้แก่ ลานมันเส้น โรงงานมันอัดเม็ด โรงงานแป้งมัน เป็นต้น


 


รูปที่3 : มันสำปะหลัง

(ที่มา : Thaigreenagro, 2552)

 



5. สับปะรดโรงงาน : สับปะรดที่เกษตรกรปลูกเพี่อส่งให้แก่โรงงานเป็นหลัก แต่ก็มีบ้างที่ขายผลสดแต่ไม่รวมกับพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันในท้องถิ่น
 
 


รูปที่4 : สับปะรด

(ที่มา : ดิ๊ก ชาวไทย, 2560)

 



6. ถั่วเขียว : เกษตรกรปลูกเพื่อนำมาใช้บริโภค และทำอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ


 
 

รูปที่5 : ถั่วเขียว

(ที่มา : kapook, 2561)

 



7. งา : งาเป็นแหล่งน้ำมัน โปรตีนที่ต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินที่หลากหลาย

 
 

รูปที่6 : งา

(ที่มา : Rosy-Cheeks, 2561)

 



8. ฝ้าย : ปุยฝ้ายถูกนำมาใช้ในการทำเครื่องอุปโภค ทั้งในลักษณะของอุสาหกรรมในครัวเรือนหรือขายให้โรงงานหีบฝ้าย เพื่อส่งให้กับโรงงานทอผ้าต่อไป



 

รูปที่7 : ฝ้าย

(ที่มา : ไทยรัฐฉบับพิมพ์, 2558)

 

 



 

 

 

ที่มา :

ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). รายงานภาวะการผลิตพืช. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก  http://www.agriinfo.doae.go.th/year55/definition/plant.pdf

สะ-เล-เต. (2560). ปฏิทินปลูกข้าว...คูโบต้า (2). สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก  https://www.thairath.co.th/news/local/1113682

กรมการค้าภายใน. (2563). รายงานราคาข้าวเปลือกและข้าวสารประจำวัน. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก  https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=19&c=110

ไชยรัตน์ ส้มฉุน. (2556). เดือน6..ลงข้าวโพด รายได้ดีต้องรู้จักปรับปรุงดิน. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก  https://www.thairath.co.th/content/330450

kasetprice. (2563). ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://www.kasetprice.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

web.sut. (2551). การเพาะปลูกมันสำปะหลัง. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก http://web.sut.ac.th/cassava/?name=14cas_plant&file=readknowledge&id=62

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค. (2559). ปริมาณความต้องการน้ำของพืชไร่. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก http://www.doa.go.th/fc/nakhonsawan/wp-content/uploads/2018/11/p_water_requirement_for_fieldcrops.pdf

kuakuuo. (2563). ราคามันสำปะหลังวันที่ 30 มีนาคม 2563. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก http://thaitapioca.org/2020/%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-30-2/

กนมพัฒนาที่ดิน. (2563). การปลูกสับปะรด. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก http://mordin.ldd.go.th/nana/web-ldd/Plant/Page09.htm

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). สับปะรดราคาพุ่ง79%. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/848946

kasetprice. (2563). ราคาถั่ว. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://www.kasetprice.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

talaadthai. (2563). งาดำ. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://talaadthai.com/product/13-08-02-black-sesameseeds

talaadthai. (2563). งาขาว. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://talaadthai.com/product/13-08-01-white-sesame-seeds

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2540). ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร : ฝ้าย. สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2563. จาก https://www.ryt9.com/s/ryt9/189342

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้